top of page
S__14245927.jpg

ภาระงาน/ใบงาน

ให้นักเรียนศึกษาประวัติความเป็นมาของกีฬาตะกร้อลอดห่วง และทำใบงานเครื่องมือคิด Mind mapping เรื่อง ลักษณะของห่วง และลูกตะกร้อ พร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม

3.png
1.png

ลักษณะของห่วง และลูกตะกร้อ

 

 

ลูกตะกร้อที่ใช้มี 3 ขนาด
1. cheap custom essays

    ► ขนาด 160 กรัม ใช้สาน 8 เส้น
2. ใช้แข่งเซปัคตะกร้อ

    ► ขนาด 180 กรัม ใช้สาน 8 เส้น
3. ใช้แข่งตะกร้อลอดบ่วง

    ► ขนาด 190-200 กรัม

 

ตะกร้อที่ใช้แข่งขันตะกร้อลอดห่วงต้องสานด้วยหวาย 9-11 เส้น หรือผลิตด้วยใยสังเคราะห์ ซึ่งให้มีขนาดและน้ำหนัก ดังนี้

    – ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง ขนาดเส้นรอบวง ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม

    – ประเภทประชาชน ขนาดเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 240 กรัม

• ให้ฝ่ายจัดการแข่งขัน จัดลูกตะกร้อไว้ ให้ผู้เข้าแข่งขัน ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันนำลูกตะกร้อมาเอง จะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง หากลูกตะกร้อที่นำมาเองไม่ถูกต้องตามกติกา ต้องใช้ลูกตะกร้อที่คณะกรรมการฯ จัดไว้ ทำการแข่งขัน

         ขนาดของห่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง 13 นิ้ว นำเหล็กมางอเป็นวงกลม 3 วง ผูกติดกันและใช้เชือกสานเป็นตาข่าย ในสมัยก่อนจะเรียกว่า “ห่วงลาว” ความกว้างของห่วงจะไม่เท่ากัน คือ
ห่วงที่ 1 เส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว
ห่วงที่ 2 เส้นผ่าศูนย์กลาง 14 นิ้ว
ห่วงที่ 3 เส้นผ่าศูนย์กลาง 14 นิ้ว
ห่วงลาวจะนำมาผูกติดกันเป็นเส้นตรง โดยมีตาข่ายอยู่ด้านในโดยวัดความสูงของก้นห่วงอันสุดท้ายจากพื้น 7 เมตร และมีการนำหดอกไม้ประดิษฐ์มาประดับเพื่อให้เกิดความสวยงาม

ห่วงชัย ต้องแขวนกลางสนาม ขอบล่างของห่วงชัย ต้องได้ระดับสูงจากพื้นสนาม ดังนี้

                - ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง                ความสูงของห่วงชัย   5.50 เมตร

                - ประเภทประชาชน                                     ความสูงของห่วงชัย    5.70 เมตร

ลักษณะของลูกตะกร้อ

ลักษณะของห่วงชัย

2.png

ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน 

55555.png
bottom of page