top of page
946577_599662300078544_1438291266_n.jpg

ภาระงาน/ใบงาน

ให้นักเรียนศึกษาประวัติความเป็นมาของกีฬาตะกร้อลอดห่วง และทำใบงานเครื่องมือคิด Compare & Contrast เรื่อง จงเปียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของกีฬาเซปักตะกร้อและกีฬาตะกร้อลอดห่วง พร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม

ประวัติความเป็นมาของกีฬาตะกร้อลอดห่วง

           ตะกร้อลอดห่วง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตะกร้อลอดบ่วงหรือตะกร้อห่วงชัย เป็นกีฬาที่มีห่วงอยู่เบื้องสูง ผู้เล่นจะเตะตะกร้อให้โด่งขึ้นไปเข้าห่วง สนามที่ใช้ในการแข่งขันเป็นพื้นราบกว้าง 18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร อยู่กลางแจ้ง จะแขวนห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ห่วง ขนาดเท่ากัน เส้นผ่าศูนย์กลางปากห่วงกว้าง 45 เซนติเมตร แขวนสูงจากพื้น 5.75 เมตร มีผู้เล่น 1 ชุด มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 6 คนและไม่เกิน 7 คน ต้องเตะให้ตะกร้อเข้าห่วงชัยให้มากที่สุดในเวลา 40 นาที ซึ่งใช้ท่าเตะ 30 ท่า แต่ละท่ามีคะแนนมากน้อยตามความยากง่าย

            ตะกร้อลอดห่วง เพราะเป็นกีฬาไทยๆ ที่มีความสวยงามทุกท่วงท่า และยังต้องมีทักษะเฉพาะด้านอีกด้วยหลายคนอาจมองตะกร้อลอดห่วงเป็นกีฬาโบราณที่มีแต่คนแก่ๆ เล่นแถมยังเล่นยาก แต่ในตอนนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนกติกาให้เหมาะสมกับผู้เล่นทุกกลุ่ม ทำให้มีผู้สนใจหันมาเล่นตะกร้อลอดห่วงอย่างแพร่หลายมากขึ้น

ตะกร้อลอดห่วง เป็นกีฬาของไทยอย่างแท้จริง ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีที่มาจากการทำโทษประชาชนที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่งสมัยนั้นจะถูกลงโทษด้วยการจับยัดใส่ลูกตะกร้อที่มีขนาดใหญ่และให้ช้างเตะไปมา ต่อมาจึงได้ค่อยๆ ประยุกต์เป็นกีฬาตะกร้อลอดห่วงขึ้น ซึ่งมีนายยิ้ม สีหน หัวหน้าทีมวัดสิบ เป็นผู้บุกเบิกคิดค้นกติกาวิธีการเล่นจนเป็นตะกร้อลอดห่วงสืบจนถึงปัจจุบัน

แรกเริ่มเดิมทีลูกตะกร้อทำมาจากหวาย แต่เพราะมีความหนัก แข็ง ทั้งรูปทรงยังเปลี่ยนตามสภาพอากาศได้อีก จึงได้เปลี่ยนวัสดุเป็นพลาสติกเพื่อให้มีมาตรฐานและยุติธรรมในการแข่งขันดัง ที่เห็นทุกวันนี้

          ตะกร้อเป็นการละเล่นของไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยมีบันทึกอยู่ในหนังสือของชาวต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ว่า คนไทยเล่นตะกร้อมาตังแต่สมัยอยุธยาเลยทีเดียว ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงก็เล่นตะกร้อเช่นกัน จำนวนคนเล่นไม่จะกัดจำนวน อาจเล่นเป็นหมู่คณะหรือเดียวก็ได้ เล่นตามลานกว้าง แรกเริ่มเดิมทีลูกตะกร้อทำมาจากหวาย แต่เพราะมีความหนัก แข็ง ทั้งรูปทรงยังเปลี่ยนตามสภาพอากาศได้อีก จึงได้เปลี่ยนวัสดุเป็นพลาสติกเพื่อให้มีมาตรฐาน และยุติธรรมในการแข่งขันดังที่เห็นทุกวันนี้ การเตะตะกร้อเป็นการที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วน มีการสังเกต ไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีความสง่างาม และการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง

         ต่อมามีคนไทยเชื้อสายจีน คือ นายยิ้ม สีหน หัวหน้าทีมวัดสิบเป็นผู้จัดตั้งกีฬาไทยที่เรียกว่า “ตะกร้อลอดบ่วง” และเป็นผู้บุกเบิกคิดค้นกติกาวิธีการเล่นจนเป็นตะกร้อลอดห่วงสืบจนถึงปัจจุบัน

ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน 

bottom of page