ภาระงาน/ใบงาน
ให้นักเรียนศึกษาประวัติความเป็นมาของกีฬาตะกร้อลอดห่วง และทำใบงานเครื่องมือคิด K-W-Lเรื่อง กติกาการแข่งขันตะกร้อลอดห่วง พร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม
กติกาการแข่งขันตะกร้อลอดห่วง
► แต่ละทีมมีผู้เล่น 5 คน และผู้เล่นสำรอง 1 คน บัญชีรายชื่อผู้เล่นอย่างน้อย 5 คน ซึ่งต้องส่งรายชื่อให้คณะกรรมการจัดการแข่งขันก่อนกำหนดการแข่งขัน 30 นาที
► ในระหว่างการแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง 1 คน ในกรณีที่นักกีฬาบาดเจ็บหรือการเปลี่ยนตัวทางเทคนิค โดยผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้าใหม่ จะถูกนับคะแนนต่อจากผู้ที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไป
► อุปกรณ์ที่ใช้ต้องเหมาะกับการเล่นกีฬาตะกร้อ อุปกรณ์ใดที่ออกแบบเพื่อเพิ่มหรือลดความเร็วของลูกตะกร้อ, เพื่อเพิ่มความสูงหรือเพิ่มการเคลื่อนไหว หรือด้วยวิธีที่เป็นการได้เปรียบหรืออาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้เล่นเอง หรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม จะไม่อนุญาตให้ใช้
► เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งและความสับสน ทั้งสองทีมที่ทำการแข่งขันต้องสวมเสื้อสีต่างกัน
► ทุกทีมต้องมีเสื้อสำหรับการแข่งขันอย่างน้อย 2 ชุด และมีสีต่างกัน โดยชุดหนึ่งเป็นสีอ่อนและอีกชุดหนึ่งเป็นสีเข้ม หากทั้งสองทีมสวมเสื้อสีเดียวกัน ทีมเจ้าบ้านต้องเปลี่ยนสีเสื้อในการแข่งขัน ในสนามกลางทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมต้องเปลี่ยนสีเสื้อ
► อุปกรณ์ของผู้เล่นประกอบด้วย เสื้อยืดคอปกหรือคอกลม กางเกงขาสั้น ถุงเท้าและรองเท้ากีฬาพื้นยางและไม่มีส้น อุปกรณ์และชุดแต่งกายถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายนักกีฬา เสื้อต้องสวมอยู่ในกางเกงตลอดเวลา ในกรณีอากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์ม
► เสื้อที่สวมต้องมีหมายเลขกำกับทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ผู้เล่นแต่ละคนต้องใช้หมายเลขประจำตลอดรายการแข่งขัน แต่ละทีมอนุญาตให้ใช้หมายเลข 1-15 ขนาดเบอร์ต้องสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร สำหรับด้านหลัง และสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร สำหรับด้านหน้า (ตรงกลางหน้าอก)
► หัวหน้าทีมของแต่ละทีมต้องสวมปลอกแขนที่มีสีต่างจากสีเสื้อไว้ที่แขนด้านซ้าย
► อุปกรณ์อื่นใดที่มิได้ระบุในกติกาการแข่งขันต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการเทคนิคของสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ ก่อน
► อนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ทีม และผู้เล่น 6 คนของทีมทำการอบอุ่นร่างกายเป็นเวลา 2 นาทีในสนามแข่งขัน
► พื้นที่สนามแข่งขัน คือพื้นที่ที่อยู่ภายในบริเวณป้ายโฆษณา (A – Boards)
► ห่วงชัยมีเจ้าหน้าที่ประจำทีมของแต่ละทีมเป็นผู้หย่อนลงและดึงขึ้น
► ผู้เล่นจะยืนกระจายอยู่โดยรอบนอกเส้นวงกลม ระหว่างการแข่งขันอนุญาตให้เปลี่ยนตำแหน่งยืนได้
► แต่ละทีมมีเวลาเล่น 30 นาที
► เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน ผู้เล่นต้องโยนลูกตะกร้อให้ผู้เล่นตรงกันข้าม ในการรับลูกตะกร้อดังกล่าว ต้องส่งให้ผู้เล่นคน
หนึ่งคนใด หลังจากนั้นจึงสามารถส่งลูกเข้าห่วงชัยด้วยท่าที่กำหนดในข้อ 9.2 เป็นลูกได้แต้ม
► ขณะโยนลูกตะกร้อ ผู้เล่นทุกคนต้องยืนอยู่นอกวงกลม หลังจากนั้นจึงจะสามารถเคลื่อนไหวได้อิสระ
► ลูกที่ตกลงพื้นหรือเข้าห่วงถือเป็นลูกตาย
► ผู้เล่นที่ทำลูกตาย จะเป็นผู้โยนลูกเพื่อการเริ่มเล่นใหม่
► สามารถเปลี่ยนลูกตะกร้อใหม่ได้ กรณีที่ลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ระหว่างการเล่น
► ระหว่างที่ลูกตะกร้ออยู่ในการเล่น ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นใช้มือจับลูกตะกร้อ จะอนุญาตให้ผู้เล่นใช้มือจับลูกตะกร้อเฉพาะกรณีที่ลูกตาย และ
ต้องโยนลูกตะกร้อ
► การโยนลูกตะกร้อเพื่อการเริ่มเล่นใหม่ จะกระทำได้แต่การส่งผ่านลูกให้ได้คะแนนจะเกิดได้เมื่อห่วงชัยถูกชักขึ้นอยู่ในความสูงที่กำหนด
► กรณีที่ลูกตะกร้อกระดอนออกนอกสนามแข่งขันผู้เล่นในทีมอาจขอลูกใหม่จากกรรมการผู้ตัดสินประจำสนาม
► กรณีต่อไปนี้ถือเป็นลูกตาย และให้โยนใหม่
1 ลูกตะกร้อตกพื้นสนาม
2 ลูกตะกร้อค้างหรือเข้าห่วง
3 ลูกตะกร้อถูกวัตถุอื่น
► ลูกตะกร้อถูกมือของผู้เล่น
► ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดเล่นลูกเกิน 3 ครั้งติดต่อกัน
► ผู้เล่นเจตนาใช้มือจับลูกตะกร้อในระหว่างการแข่งขัน