top of page
S__14245926.jpg

ภาระงาน/ใบงาน

ให้นักเรียนศึกษาการให้คะแนนและการตัดสินของกีฬาตะกร้อลอดห่วง และทำใบงานเครื่องมือคิด Ranking เรื่อง จัดอันดับการลงโทษทางวินัยของกีฬาตะกร้อลอดห่วง พร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม

3.png
1.png

การให้คะแนนและการตัดสิน

 

 

 

    ► ผู้เล่นจะได้คะแนน 10 คะแนน  ที่สามารถทำให้ลูกตะกร้อเข้าห่วงชัยไม่ว่าจะเป็นท่าใดก็ตาม ที่กำหนดไว้โดยไม่คำนึงถึงความยากของแต่ละท่า

         ยกเว้น 

          1 ใช้ท่าเดิมซ้ำกันเกิน 3 ครั้ง

          2 ใช้ท่าต่างจากที่กำหนดไว้ในข้อ 9.2

          3 ทำได้จากการส่งผ่านครั้งแรก หลังจากรับลูกโยน

          4 ลูกตะกร้อกระดอนออกจากห่วง

          5 ทำลูกตะกร้อเข้าห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา

    ► ลำดับความยากของท่าต่าง ๆ ในการแข่งขัน

          1 ลูกศีรษะ (ลูกโหม่ง)

          2 ลูกข้างเท้าด้านใน (ลูกแป)

          3 ลูกไหล่

          4 ลูกเข่า

          5 ลูกข้างเท้าด้านนอก (ลูกข้าง)

          6 ลูกกระโดดไขว้

          7 ลูกเตะด้านหลัง (โค้งหลัง)

          8 ลูกเตะด้านหน้า (หลังเท้า)

    ► ทีมที่ทำคะแนนรวมได้สูงสุดเป็นผู้ชนะ

    ► กรณีที่คะแนนรวมเท่ากัน ตัดสินแพ้ชนะโดยการเล่นไทเบรก กรรมการผู้ตัดสินจะเป็นผู้เสี่ยงโยนเหรียญ  หรือแผ่นกลม ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะ

        เป็นผู้เริ่มเล่นก่อน   แต่ละทีมจะได้เวลาเล่นทีมละ 5 นาที   โดยใช้กติกาเดิมที่กำหนดไว้ และต้องทำแต้มให้ได้สูงสุด หากยังได้คะแนนเท่ากันอีก

        ก็ให้เล่นไทเบรกต่อไปจนกว่าจะได้ผู้ชนะ

 

      ► ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ต้องมีเจ้าหน้าที่ดังนี้

                1. กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน

                2. ผู้ตัดสิน 4 คน

                  •  ผู้ตัดสิน         • ผู้ควบคุมคะแนน       • ผู้กำกับคะแนน         • ผู้รักษาเวลา

 

 

      ► กรรมการตัดสินต้องอยู่ในสนามทั้งระหว่างการอบอุ่นร่างกายและระหว่างการแข่งขัน   ซึ่งจะต้องทำหน้าที่กำกับการแข่งขันให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่นและต้องรับผิดชอบดังนี้ :-

      ► ต้องตรวจดูผู้เล่นมิให้สวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ที่จะเป็นอันตรายต่อการแข่งขัน

      ► จะต้องให้สัญญาณในการเริ่มอบอุ่นร่างกายและเวลาการอบอุ่นร่างกายตลอดจนเวลาเริ่มและสิ้นสุดการแข่งขัน

      ► ขานหรือแจ้งเมื่อมีการทำผิดกติกาในระหว่างการแข่งขัน

      ► ตรวจสอบว่าผู้ที่ทำลูกเสียจะต้องเป็นผู้เริ่มส่งลูกเริ่มเล่น

      ► เป็นผู้อนุญาตให้มีการพักทางเทคนิคกรณีที่มีการบาดเจ็บหรือเหตุอื่นใดในระหว่างการแข่งขัน

      ► เป็นผู้ให้บัตรเหลืองหรือแดงกรณีที่มีผู้เล่นกระทำผิดตามกติกาที่กำหนดในข้อ 16

      ► เมื่อเสร็จการแข่งขัน    กรรมการตัดสินจะยืนแถวตรงหน้าโต๊ะกรรมการเพื่อรับทราบคะแนนรวมจากกรรมการควบคุมคะแนน

      ► เพื่อตรวจสอบว่าการได้คะแนนนั้น ทำได้ขณะที่ห่วงอยู่ในระดับที่กำหนด

 

 

      ► กรรมการคะแนนจะต้องนั่งอยู่ข้างผู้ควบคุมคะแนนที่โต๊ะกรรมการผู้ตัดสิน

      ► ต้องทำหน้าที่บันทึกคะแนนในใบบันทึก และจำนวนครั้งในแต่ละท่าของผู้เล่นแต่ละคน

      ► ต้องคอยแจ้งผู้ควบคุมคะแนน ถึงจำนวนครั้งที่ผู้เล่นแต่ละคนสามารถเล่นได้คะแนนในแต่ละท่า

 

      ► กรรมการรักษาเวลาต้องนั่งอยู่ข้างกรรมการกำกับคะแนนที่โต๊ะกรรมการ

      ► เป็นผู้ให้สัญญาณนกหวีดเวลาเริ่มและสิ้นสุดการอบอุ่นร่างกายและการแข่งขัน

      ► หยุดเวลาเมื่อกรรมการผู้ตัดสินให้สัญญาณเวลานอกทางเทคนิค

      ► เป็นผู้บันทึกคะแนนในเครื่องนับคะแนนอิเล็คโทรนิคตามการประกาศของกรรมการผู้ควบคุมคะแนน

      ► ต้องตรวจสอบว่าห่วงถูกชักถึงระดับความสูงที่กำหนด

 

      ► ผู้ควบคุมคะแนนต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะกรรมการ

      ► เมื่อผู้เล่นทำแต้มได้ ผู้ควบคุมคะแนนจะเป็นผู้ประกาศโดยเริ่มจากหมายเลขผู้เล่น จำนวนครั้งของท่าที่ทำได้ เช่น “หมายเลข 1” ท่ากระโดดไ

           ไขว้ครั้งที่ 1 หรือ "หมายเลข 10” ท่าลูกข้างเท้าด้านในครั้งที่ 3

      ► เมื่อทำคะแนนได้แต่เกินจำนวนครั้งในท่าดังกล่าว ผู้ควบคุมคะแนนจะประกาศโดยเริ่มจากหมายเลขเสื้อของผู้เล่น จำนวนครั้งที่ทำได้และบอก

           ว่า "ไม่มีคะแนน" เช่น "หมายเลข 2” ท่ากระโดดไขว้ ครั้งที่ 4 ไม่มีคะแนน

      ► ผู้เก็บลูกตะกร้อต้องอยู่นอกบริเวณสนามแข่งขัน   เพื่อคอยเก็บลูกตะกร้อที่กระดอน หรือหลุดออกนอกบริเวณสนาม  และต้องส่งลูกกลับ

           ไปยังโต๊ะกรรมการผู้ตัดสิน

      ► ผู้ชักรอกห่วง มีหน้าที่ชักและลดห่วงในระหว่างการแข่งขัน   ซึ่งจะต้องอยู่ใกล้โต๊ะกรรมการผู้ตัดสินและใกล้กับกรรมการผู้รักษาเวลา ซึ่งต้อง

           คอยดูว่าเชือกและเสาห่วงได้ถูกชักขึ้นไปได้ความสูงตามที่กำหนด

 

       ► ผู้เล่นทุกคนต้องปฏิบัติตามกติกาการเล่น

       ► อนุญาตให้เฉพาะหัวหน้าทีม ที่จะติดต่อกับกรรมการผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขันทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับตำแหน่ง หรือเกี่ยวกับผู้เล่นในทีม   หรือเพื่อขอคำอธิบายเกี่ยวกับคำตัดสินของคณะกรรมการในการแข่งขัน    ซึ่งกรรมการผู้ตัดสินต้องชี้แจงหรืออธิบายต่อหัวหน้าทีม

       ► ผู้จัดการทีม, ผู้ฝึกสอน, นักกีฬา  และเจ้าหน้าที่ประจำทีม  จะไม่อนุญาตให้โต้เถียงคำตัดสินของกรรมการ หรือกระทำการที่เป็นการขัดขวางการดำเนินการแข่งขัน หากมีการฝ่าฝืนจะถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรง

 

      ► กรณีที่ผู้เล่นเจตนาใช้มือสัมผัสลูกตะกร้อในระหว่างที่ลูกตะกร้ออยู่ในการเล่นกรรมการผู้ตัดสินจะให้บัตรเหลืองเพื่อการทำโทษทันที หากผู้เล่นคนเดิมทำผิดซ้ำอีก กรรมการผู้ตัดสินจะให้บัตรแดงในการทำโทษ

      ► การให้บัตรแดงในการทำโทษ หมายถึง การเล่นในเกมดังกล่าวต้องยุติและไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัว คะแนนรวมสุดท้ายจนถึงเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นคะแนนที่ทำได้

      ► การทำผิดกติกาและผิดวินัยจะถูกลงโทษดังนี้ :-

การลงโทษทางวินัย

      ► การตักเตือน

              ผู้เล่นจะถูกตักเตือนและให้บัตรเหลือง หากกระทำผิดใน 6 ประการดังนี้ :-

              1 ประพฤติปฏิบัติตนไม่มีน้ำใจนักกีฬา เช่น แสดงหรือกระทำการขาดจริยธรรมและวินัยของนักกีฬา ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินการ

                แข่งขัน

              2 แสดงกิริยา หรือคำพูดหยาบคาย

              3 ทำผิดกติกาบ่อย ๆ

              4 ถ่วงเวลาการเล่น

              5 เข้า-ออกสนามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน

              6 ผละจากสนามแข่งขัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน

      ► ถูกให้ออก

              ผู้เล่นที่ถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดงหากทำผิดกรณีหนึ่งกรณีใดใน 5 กรณี ดังนี้ :-

              1 มีความผิดเพราะทำผิดกติการ้ายแรง

              2 มีความผิดเพราะการกระทำที่เจตนาทำร้ายฝ่ายตรงข้ามให้บาดเจ็บ

              3 ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือบุคคลอื่น

              4 ใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือไม่เหมาะสม

              5 ได้รับบัตรเหลืองเป็นครั้งที่สองในการแข่งขันเกมเดียวกัน

      ► ผู้เล่นที่กระทำผิด  หรือประพฤติไม่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกสนามแข่งขัน โดยที่กระทำต่อฝ่ายตรงข้าม, เพื่อนร่วมทีม,

           กรรมการผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับบัตรเหลือง จะได้รับโทษทางวินัย ดังนี้ :-

               1 บัตรเหลืองใบแรก

                  โทษ : ตักเตือนตามปกติ

               2 บัตรเหลืองใบที่สองในผู้เล่นคนเดียวกันในเกมแข่งขันคนละเกม แต่เป็นรายการแข่งขันเดียวกัน

                  โทษ : พักการแข่งขัน  1  แมทซ์

                3 บัตรเหลืองใบที่สามหลังจากถูกพักการแข่งขันเนื่องจากได้บัตรเหลือง 2 ใบในรายการแข่งขัน โดยผู้เล่นคนเดิม

                           โทษ :  พักการแข่งขัน  2  แมทซ์

                               :   ปรับเงิน 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งสโมสรหรือผู้รับผิดชอบนักกีฬาผู้นั้นเป็นผู้จ่าย

                 4 บัตรเหลืองใบที่สี่ได้รับบัตรเหลืองหลังจากที่ถูกพักการแข่งขัน  2  แมทซ์     จากการได้รับบัตรเหลืองใบที่สามในรายการแข่งขัน

                   เดียวกันและนักกีฬาคนเดิม

                          โทษ : ให้ออกจากการแข่งขันในแมทซ์ถัดไป และรายการแข่งขันที่รับรองโดยองค์กรเซปักตะกร้อจนกว่าคณะกรรมการวินัย

                                จะได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว

                 5 ได้รับบัตรเหลืองใบที่สองโดยผู้เล่นคนเดิมในแมทซ์การแข่งขันเดียวกัน

                            โทษ : พักการแข่งขัน  2  แมทซ์

                                 : ปรับเป็นเงิน 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งสโมสรหรือบุคคลที่รับผิดชอบนักกีฬาดังกล่าวเป็นผู้จ่าย

                                 : หากมีการกระทำผิดวินัยในการแข่งขันในแมทซ์อื่น แต่เป็นการแข่งขันในรายการเดิมอีกจะได้รับบัตรแดง

      ► ผู้เล่นที่กระทำผิดวินัยร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นการกระทำใน  หรือนอกสนามแข่งขัน ซึ่งเป็นการกระทำต่อฝ่ายตรงข้าม, เพื่อนร่วมทีม, กรรมการผู้

           ตัดสิน, ผู้ช่วยผู้ตัดสินหรือบุคคลอื่น และได้รับบัตรแดง จะได้รับการพิจารณาโทษ ดังนี้ :-

               1 บัตรแดง

                          โทษ : ให้ออกจากการแข่งขัน   และให้พักการแข่งขันในรายการที่รับรองโดยองค์กรกีฬาเซปักตะกร้อจนกว่าคณะกรรมการ

                                วินัยจะได้มีการพิจารณาและมีการตัดสินในเรื่องดังกล่าว

 

      ► การลงโทษทางวินัยจะกระทำต่อเจ้าหน้าที่ประจำทีมในกรณีที่ประพฤติในสิ่งมิบังควร หรือรบกวนการแข่งขันไม่ว่าจะในสนามแข่งขัน หรือนอกสนามแข่งขัน

      ► เจ้าหน้าที่ประจำทีมที่ประพฤติในสิ่งมิบังควรหรือรบกวนการแข่งขันจะถูกเชิญให้ออกจากสนามแข่งขันโดยเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน  และกรรมการผู้ตัดสิน   และจะถูกพักการปฏิบัติหน้าที่ประจำทีมจนกว่าคณะกรรมการวินัยจะได้พิจารณาตัดสินในกรณีดังกล่าว

 

      ► หากมีเหตุหรือกรณีอื่นใดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกติกาการแข่งขัน การตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด

นักกีฬาหรือผู้เล่น (THE  PLAYERS)

เจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน (OFFICIALS)

กรรมการผู้ตัดสิน (REFEREE)

กรรมการคะแนน (SCOREKEEPER)

กรรมการรักษาเวลา (TIMEKEEPER)

กรรมการควบคุมคะแนน (SCORE  CONTROLLER)

วินัย (DISCIPLINE)

การลงโทษ (PENALTY)

การกระทำผิดทางวินัยของเจ้าหน้าที่ประจำทีม (MISCONDUCT  OF  TEAM  OFFICIALS)

ทั่วไป (GENERAL)

2.png

ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน 

55555.png
bottom of page